วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อสอบปลายภาค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะการเรียนรุ้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ทุกเวลาเมื่อมีโอกาส เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด ค้นคว้า แก้ปัญหา และเรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์ ทำให้เด็กสามารถเข้าใจตัวเลขได้ง่าย โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็ก ควรคำนึงถึงการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กตามระดับพัฒนาการด้วย
2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
หลักการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์
3.จงเลือกและอธิบายสาระทางศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1. จำนวนนับใช่บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6. จำนวนสองจำนวนเมื่อมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ... เป็นการบอกอันดับที่
10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่ 2 การวัด
1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
4. การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย
5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ
7. การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
8. การตวงสิ่งของต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10. การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
13. ธนบัตรที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
14. บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆคือ กลางวันและกลางคืน
16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพะ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์
4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ
2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้
5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ กิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
action online games
ตอบลบminiclip unblocked
Thanks a lot for sharing and I have some special things for you. If you are in free time. Read and ponder the good quotes of life below, you will surely draw in life's own deep lessons.summer nights quotes and or you can relax by playing the game after the tired working timecar parking games free You can relax by reading the stories as truyện xuyên không hoàn. Each article definitely sexmang to give you the most comfortable feeling. Enjoy the experience!
ตอบลบ