วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553
ข้อสอบปลายภาค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะการเรียนรุ้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ทุกเวลาเมื่อมีโอกาส เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด ค้นคว้า แก้ปัญหา และเรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์ ทำให้เด็กสามารถเข้าใจตัวเลขได้ง่าย โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็ก ควรคำนึงถึงการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กตามระดับพัฒนาการด้วย
2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
หลักการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์
3.จงเลือกและอธิบายสาระทางศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1. จำนวนนับใช่บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6. จำนวนสองจำนวนเมื่อมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ... เป็นการบอกอันดับที่
10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่ 2 การวัด
1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
4. การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย
5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ
7. การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
8. การตวงสิ่งของต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10. การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
13. ธนบัตรที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
14. บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆคือ กลางวันและกลางคืน
16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพะ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์
4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ
2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้
5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ กิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก
กิจกรรมผู้ปกครองในการส่งเสริมคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
คณิตคิดสนุก เริ่มที่บ้าน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน" โดย อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 24 ส.ค.51 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2551 ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมเข้าฟังด้วย อ.สุรัชน์ บอกว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง ทว่ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ อีกทั้ง เนื่องจากการเรียนการสอนที่โรงเรียนอัดแน่นเนื้อหาเอาไว้มาก ทำให้คุณครูผู้สอนมักเร่งรีบสอนเพื่อให้จบเนื้อหา เด็กๆ จึงไม่ค่อยได้ทำกิจกรรม เช่น เรียนเรื่องการชั่ง ตวง วัด แต่เด็กไม่เคยได้สัมผัสเครื่องชั่งจริงๆ เลยสักที ทำให้เด็กๆ ขาดทักษะส่วนนี้ไป ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นต่อการเรียนคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่แค่เรียนบวก ลบ คูณ หาร เท่านั้น
"คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น" อ.สุรัชน์ กล่าว
อ.สุรัชน์ ยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก
อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ โชว์ของตัวอย่างของเล่นที่สามารถ นำไปใช้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์
ให้กับเด็กๆ ที่บ้านได้ เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาขบคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง หรือเมื่ออยู่สนามเด็กเล่น ก็มักพบเห็นรูปทรงเรขาคณิตได้ในเครื่องเล่นทั่วไป ก็กำหนดเป็นโจทย์ให้เด็กทำความรู้จักกับรูปทรงต่างๆ คำนวณหาพื้นที่จากรูปทรงเหล่านั้น เช่น ลูกฟุตบอล ล้อรถจักกระยาน เป็นต้น
อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ ซึ่งนอกจากผู้ปกครองและเด็กจะได้ใช้เวลาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันแล้ว เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะอีกมากมายจากการประดิษฐ์กล่องสัก 1 ใบ เริ่มแรกอาจนำกล่องที่มีอยู่แล้ว มาแกะและพิจารณาดูว่าเขาทำอย่างไร จึงได้เป็นกล่องใบนั้นขึ้นมา แล้วจากนั้นจึงทดลองทำกล่องใบใหม่ ซึ่งการทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ และครั้งต่อไปก็อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบกล่องที่ซับซ้อนมากขึ้น และการประดิษฐ์กล่องนั้นยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในระดับสูงขึ้นไปอีกด้วย
นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า หรือเกมไพ่ผสม 10 ซึ่งเกมเหล่านี้สามารถพลิกเพลงได้หลายอย่าง เกมไพ่ อาจไม่จำเป็นต้องผสม 10 แต่เป็นผสม 7 หรือ ผสม 11 ก็สามารถเล่นได้ทั้งหมด ในการให้เด็กฝึกทักษะคิดเลข
การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย และในการเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง "การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักไม่ค่อยนำมาใช้" อ.สุรัชน์ เผย "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" อ.สุรัชน์ กล่าว และบอกอีกว่ายังเป็นการประเมินได้ด้วยว่าเด็กๆ ได้ความรู้จากที่โรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเนื้อหาเรียนได้จากที่โรงเรียน แต่ที่บ้านคือการนำมาใช้จริง
อย่างไรก็ตาม อ.สุรัชน์ บอกอีกว่า คณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรม มากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณครู จึงควรมีทักษะที่สามารถดึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์ ออกมานำเสนอให้เด็กสนใจได้ ส่วนผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้การเรียนการสอนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว และควรปรับเปลี่ยนทัศนคติ ต้องไม่คิดว่าตนเองเคยเรียนมาอย่างไร ลูกก็ต้องเรียนอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน
ผู้ปกครองควรจะติดตามความก้าวหน้า ของหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบันด้วย เพื่อที่จะได้เสริมทักษะให้ลูกหลานได้ถูกต้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่น่าสนใจให้เลือกมากมาย ทั้งจากหนังสือ คอมพิวเตอร์ หรือของหน่วนงานต่างๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นค้นหาเพิ่มเติม และนำมาสอนลูกหลานด้วยตัวเอง ก็จะช่วยเพิ่มทักษะของเด็กได้มากขึ้น
เห็นมั้ยค่ะว่าคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และสามารถสอนเด็กจากการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายๆ ค่ะเห็นอย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจจะสอนลูกของท่านก็สามารถนำไปใช้ได้นะค่ะ
เพลงและคำคล้องจองคณิตศาสตร์
เพลงและคำคล้องจองคณิตศาสตร์
1.กลอนหนึ่ง-สอง
หนึ่ง สอง มือตีกลอง ตะแล๊ก แทร๊กแทร๊ก
สาม สี่ ดูให้ดี
ห้า หก ส่องกระจก
เจ็ด แปด ถือปืนแฝด
เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้องโอย โอย
2.กระรอกบอกข่าว
กระรอก กระรอก เจ้ามาบอกข่าว
ขนนุ่ม หางยาว มากันกี่ตัว
หนึ่ง สอง สาม สี่ อยู่นี่เป็น ห้า
รีบบอกข่าวมา ไม่ต้องตื่นกลัว
กระรอกบอกข่าว ว่าฝนจะตก
ตัวสั่นงันงก ส่งเสียงรัว รัว
3.ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี
4.จับปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ปูมันหนีฉันต้องสั่นหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบที่หัวแม่มือ
ลา ล้า ลา ..............................................
5.ซ้าย-ขวา
เราใช้อะไร อ๋อมือสองข้าง
ซ้าย ขวา ใช้ต่าง กันบ้างนิดหน่อย
มือขวาถนัดกว่า เพราะว่าใช้บ่อย
มือซ้ายใช้น้อย ไม่ค่อยถนัดเอย
6.ซ้าย-ขวา
ปรบมือข้างซ้าย (ปรบมือทางซ้าย 2 ครั้ง)
ปรบมือข้างขวา (ปรบมือทางขวา 2 ครั้ง)
พวกเรามาสนุกเฮฮา ปรบมือข้างซ้าย ปรบมือข้างขวา
7.ซ้าย-ขวา
เราปักชื่อที่เสื้อด้านขวา ด้านซ้ายนั้นหนามีกระเป๋า
เราจำจากเสื้อของเรา เสื้อของเขาก็มีขวา-ซ้ายเอย
8.ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-กลาง-หนา-บาง
แม่กระต่ายเดินมา นำหน้าลูกน้อย
เดินตามต้อยต้อย สีขาวอยู่หลัง
สีดำน่าดู เดินอยู่ตรงกลาง
ทางซ้ายหญ้าบาง ทางขวาหนาเอย
9.เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้า มีขา สี่ขา เท่ากัน
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย
10.นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบลิบ นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว
11.นกสิบตัว
นกสิบตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้
ตัวหนึ่งบินไปเหลือเก้าตัว
(ลดจำนวนนกลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือนกหนึ่งตัว)
นกหนึ่งตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้
พอมันบินไปก็ไม่มีนกเหลือเลย
12.นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ
13.บน-ใต้
ฉันนอน บนเตียง ส่งเสียง แจ๋วแจ๋ว
หนูห่ม ผ้าแล้ว ไว้กัน ลมหนาว
นอนดิ้น ไปมา ฝันว่า คว้าดาว
ตื่นมา แสนหนาว ผ้าตก ใต้เตียง
14.บน-ใต้-ใกล้-ไกล
ลูกเป็ดยืนอยู่ใกล้ ฟางกองใหญ่ใกล้ริมทาง
ลูกหมาวิ่งส่ายหาง ยังอยู่ห่างไกลออกไป
ลูกนกผกโผบิน แล้วบินเกาะบนไม้ใหญ่
กระต่ายขาวแสนตกใจ วิ่งมาใต้ต้นไม้เอย
15.บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ
16.เป็ดห้าตัว
เป็ดน้อยห้าตัวเตาะแตะตามกัน เดินเพลิดเพลินมาในไพวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยสี่ตัวกลับมาน่าชัง
(ถึงไม่กลับเลยแนะเออน่าชัง)
แม่เป็ดขนงามเดินตามลูกไป ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ กึกก้องในไพวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยห้าตัวกลับมาดีจัง
17.มาก-น้อย
แม่ให้ เงินพี่ วันนี้ ห้าบาท
แต่ฉัน ได้ขาด สองบาท ใช่ไหม
ฉันได้ สามบาท น้อยกว่า เสียใจ
พี่ได้ มากกว่า ยิ้มร่า ยินดี
18.มาก-น้อย,เท่า-ไม่เท่า,สูง-ต่ำ,สั้น-ยาว
มีเด็กสองคน วิ่งวนเลี้ยงไก่
คนสูงถือไม้ อันยาวหนักหนา
มีไก่สิบตัว มากจนลายตา
อีกคนน้อยกว่า ห้าตัววิ่งไว
ถือไม้อันสั้น เขานั้นตัวต่ำ(เตี้ย)
นับไก่น่าขัน เท่ากันหรือไม่
ห้าตัว สิบตัว รีบนับเร็วไว
สูง-ต่ำมีไก่ ไม่เท่ากันเลย
19.แม่ไก่-ลูกไก่
หนึ่ง สอง สามและสี่ แม่ไก่มีลูกสี่ตัว
ลูกจ๋าอย่าทำชั่ว จงเกรงกลัวเรื่องบาปกรรม
ลูกเจี๊ยบต่างรักแม่ จึงมีแต่เชื่อฟังคำ
ทำดีทุกเช้าค่ำ หากทำชั่วจะเป็นทุกข์
แม่มองเจี๊ยบทั้งสี่ เป็นเด็กดีแล้วมีสุข
จึงร้องว่า “กุ๊ก กุ๊ก” แม่รักลูกทุกทุกตัว
20.แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง (นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สิบวันได้ไข่สิบฟอง
21.แม่ค้าข้าวหลาม
แม่ค้า แม่ค้าข้าวหลาม ซื้อ หนึ่ง สอง สาม ราคาเท่าไร
ขอซื้ออีก สี่ ห้า หก ข้าวหลามกลิ้งตกรีบเก็บไวไว
ซื้อหกขอแถมอีกหนึ่ง ไปจิ้มน้ำผึ้งอร่อยเหลือใจ
22.ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวไต่อยู่บนหลังคา ตัวหนึ่งกระโดดตุ๊บลงมาเหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
ลูกแมวตัวหนึ่งไต่อยู่บนหลังคา พอมันกระโดดลงมาบนหลังคาก็ไม่มีแมว
23.ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้ น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลง นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลง น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลง นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว
24.ลูกหนู
ลูกหนูตัวหนึ่งซ่อนอยู่ในตู้ อีกตัวตามมาดูรวมเป็นสองตัว
(นับขึ้นเรื่อยๆจนครบสิบ)
25.สั้น-ยาว
ไม้บรรทัด ของฉัน อันยาว เท่านี้
ดินสอ ของพี่ สั้นกว่า ใช่ไหม
ยางลบ ของน้อง ยิ่งสั้น ลงไป
ไม้บรรทัด นี่ไง ยาวกว่า ใครเลย
26.สูง-เตี้ย
เสาธง ตรงแน่ว เห็นแล้ว ใช่ไหม
มีเสา ชาติไทย ผูกไว้ นั่นหนา
เสาธง สูงเด่น มองเห็น งามตา
ต้นไม้ เตี้ยกว่า เสาสูง จริงเอย
27.หนัก-เบา
นั่นแน่ใบไม้ ปลิวลมไปมา
สบายจริงหนา เพราะเบาเหลือใจ
ก้อนหินอยู่นิ่ง กลิ้งไปไม่ได้
หนักกว่าใบไม้ ลมแรงไป
28.หนา-บาง
โต๊ะเรียน ของฉัน นั้นทำ ด้วยไม้
ไม้หนา เห็นไหม ฉีกไม่ ขาดเลย
กระดาษ ของฉัน นั้นบาง เหลือเอย
ฉีกนิด ขาดเลย ไม้หนา น่าชม
29.หน้า-กลาง-หลัง
เรือใบ สีแดง แล่นแซง ขึ้นหน้า
เรือใบ สีฟ้า ตามมา อยู่กลาง
เรือใบ ลำไหน แล่นอยู่ ข้างหลัง
สีขาว ช้าจัง อยู่หลัง สุดเลย
30.หนึ่ง-สอง-สาม
หนึ่ง สอง สาม เป็นยามปลอด สี่ ห้า ลอดรั้วออกไป
หก เจ็ด แปด แดดแจ่มใส เก้า สิบ ไวไววิ่งไล่กัน
สิบเอ็ด สิบสอง รีบย่องกลับ สิบสาม สิบสี่ หลับแล้วฝัน
สิบห้า สิบหก ตกเตียงพลัน สิบเจ็ด สิบแปด นั้นฉันหัวโน
31.ใหญ่-เล็ก
มาลี เดินมา เห็นหมา ตัวใหญ่
มาลี ร้องไห้ ตกใจ กลัวหมา
เห็นแมว ตัวน้อย ค่อยค่อย ก้าวมา
แมวเล็ก กว่าหมา มาลี ไม่กลัว
32.ใหญ่-เล็ก,อ้วน-ผอม
หนูนิดเป็นพี่ ดูซิตัวใหญ่
อ้วนกว่าหนูใหม่ ตัวเล็กเป็นน้อง
หนูใหม่นั้นหนา ผอมกว่าเป็นกอง
นิดหนักกว่าน้อง ใหม่ผอมตัวเบา
33.อ้วน-ผอม
มีเด็ก คนหนึ่ง ซึ่งเขา กินมาก
ลุกนั่ง ลำบาก เพราะอ้วน เกินไป
ส่วนเด็ก อีกคน ไม่กิน อะไร
จนผอม เหลือใจ ไม่มี เรี่ยวแรง
34.เพลงกำมือ
กำมือขึ้นแล้วหมุนหมุน ชูมือขึ้นโบกไปมา
(ซ้ำทั้งประโยค)
กางแขนขึ้นและลง พับแขนมือและไหล่
กางแขนขึ้นและลง ชูขึ้นตรงหมุนไปรอบตัว
35.เพลงหนอนผีเสื้อ
หนอนตัวน้อยๆ ค่อยๆ คลืบคลาน
ค่อยๆ คลืบคลานหาอาหารกิน
หนอนกินใบไม้ มันกินมันกิน
กินไม่หยุดยั้ง ทั้งวันทั้งคืน
หนึ่งสัปดาห์กว่า มันเติบโต
เปลี่ยนแปลงมาโข สร้างเปลือกหุ้มตัวไว้
สองสัปดาห์ดักแด้เปลี่ยนไป
สู่ชีวิตใหม่เป็นสีเสื้อแสนงาน
36.เพลงข้างขึ้นข้างแรม
ค่ำคืนข้างแรม เห็นดวงดาวแจ่มกระจ่างฟ้า
ด้วยเดือนเลื่อนลา เลื่อนลา ลับตาจากไป
จากไปนานครึ่งเดือน ก็กลับมาเยือนฟ้าใหม่
ค่ำคืนเดือนหงาย พระจันทร์สุกใสเต็มดวง
37.เพลง ยืนตัวตรง
ยืนตัวให้ตรง ก้มหัวลงตบมือแผะ
แขนขวามอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
ยืนตัวให้ตรง ก้มหัวลงตบมือแผะ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
38.เพลงสามฤดู
ฤดูฝนต้นเดือนเมษา
ฤดูหนาวราวเดือนพฤษจิกา
ฤดูร้อนเริ่มราวเดือนมีนา
สามฤดูเวียนมาในรอบหนึ่งปี
39. หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือนอย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)